คณะกรรมการชุดปัจจุบัน

ข้อบังคับสมาคม

ข้อบังคับ
สมาคมศิษย์เก่าเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช  พ.ศ. ๒๔๙๘
(แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๔๕ และพ.ศ. ๒๕๕๓)

หมวด ๑
ความทั่วไป
นิยามศัพท์
(๑)  สมาคม      หมายถึง  สมาคมศิษย์เก่าเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช
(๒) กรรมการ   หมายถึง  กรรมการสมาคมศิษย์เก่าเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช
(๓) โรงเรียน     หมายถึง  โรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช
(๔) การจดทะเบียน หมายถึง การจดทะเบียนสมาคมศิษย์เก่าเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช
ต่อนายทะเบียนจังหวัดนครศรีธรรมราช
(๕) เจ้าหน้าที่   หมายถึง  เจ้าหน้าที่ที่กรรมการสมาคมแต่งตั้งให้ทำหน้าที่กิจการใดกิจการหนึ่งของ สมาคม
ข้อ ๑    สมาคมนี้มีชื่อเรียกว่า    สมาคมศิษย์เก่าเบญจมราชูทิศนครศรีธรรมราช      ใช้อักษรย่อว่า...” มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า  Benjamarachutit Nakhonsrithummarat Alumni Association  ใช้อักษรย่อว่า  “B.A.A.”
ข้อ ๒   สมาคมมีสีม่วงขาวเป็นสัญลักษณ์ สำหรับเครื่องหมายสมาคมมีลักษณะเป็นวงกลมสองชั้น ภายใน  วงกลมชั้นในมีพื้นสีม่วง มีมงกุฎ ๕ สีแดง อยู่ตรงกลางใบโพธิ์สีขาว ภายในวงกลมชั้นนอก มีอักษรย่อว่า ส... อยู่ด้านบน มีคำว่าสมาคมศิษย์เก่าเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช  อยู่ด้านล่างเป็นตัวหนังสือสีม่วงบนพื้นสีขาว
ข้อ ๓   สำนักงานของสมาคม ตั้งอยู่ที่โรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช   ถนนนาพรุ-ปากพูน  ตำบล โพธิ์เสด็จ   อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช 80000

               หมวด ๒
วัตถุประสงค์

ข้อ ๔    วัตถุประสงค์ของสมาคมเพื่อ
            (๑)    ดำเนินกิจกรรมของสมาคมศิษย์เก่าเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช
         (๒)   สนับสนุนการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  ให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
            (๓)    สนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียน
            (๔)    ส่งเสริมการกีฬาและพลานามัย
            (๕)    ส่งเสริมศีลธรรม  วัฒนธรรมและประเพณี
            (๖)    ส่งเสริมความสามัคคีและอุปการะซึ่งกันและกันระหว่างสมาชิก
            (๗)    ส่งเสริมกิจกรรมสาธารณประโยชน์โดยทั่วไป
            (๘)    ไม่ดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเมือง

หมวด ๓
การเป็นสมาชิกของสมาคม สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก

ข้อ     สมาชิกของสมาคมมี   ประเภท คือ
         (๑)    สมาชิกสามัญ ได้แก่ ศิษย์เก่าและครูอาจารย์ของโรงเรียนเบญจมราชูทิศทั้งอดีตและปัจจุบัน ซึ่งสมาคมได้รับเป็นสมาชิก
         (๒)   สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่ บุคคลผู้ทรงคุณวุฒิ หรือทรงเกียรติ หรือผู้มีอุปการะคุณแก่โรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช   ซึ่งคณะกรรมการลงมติเชิญเป็นสมาชิกของสมาคม
ข้อ ๖    คุณสมบัติของสมาชิก
            (๑)    เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย
         (๒)   ไม่เป็นผู้ต้องคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้เป็นบุคคลล้มละลาย หรือเป็นผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ หรือต้องโทษจำคุก ยกเว้น ความผิดฐานประมาทหรือลหุโทษ
ข้อ ๗    ค่าบำรุงสมาคม
            (๑)    สมาชิกสามัญ   ชำระค่าบำรุงสมาคมตลอดชีพ  จำนวน ๒๐๐ บาท
            (๒)   สมาชิกกิตติมศักดิ์  ไม่ต้องชำระค่าบำรุงสมาคม
ข้อ ๘    ผู้สมัครเป็นสมาชิกสามัญของสมาคม ต้องยื่นใบสมัครตามแบบของสมาคม พร้อมชำระค่าบำรุง สมาคมต่อนายทะเบียนสมาคม     เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติ สมาชิกภาพจะเกิดขึ้นเมื่อนายทะเบียน
จดแจ้งการเป็นสมาชิกลงในสมุดทะเบียน
ข้อ ๙    สมาชิกภาพของสมาชิกกิตติมศักดิ์ ให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่สมาคมได้รับหนังสือตอบรับคำเชิญของผู้ที่
            คณะกรรมการได้พิจารณาลงมติให้เชิญเป็นสมาชิกของสมาคม
ข้อ ๑๐  การสิ้นสุดสมาชิกภาพ
            (๑)    ตาย
            (๒)   ลาออก โดยยื่นหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรต่อนายทะเบียน
            (๓)    ขาดคุณสมบัติตามข้อ ๖
            (๔)    ที่ประชุมใหญ่ของสมาคมหรือคณะกรรมการได้พิจารณาลงมติให้ออก
            (๕)    สมาชิกภาพของสมาคมกิตติมศักดิ์ สิ้นสุดลงตามวาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการ
                     ของสมาคม
ข้อ ๑๑  สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก
             (๑)   มีสิทธิเข้าร่วมประชุมใหญ่ของสมาคม
            (๒)   มีสิทธิเข้าใช้สถานที่ของสมาคมโดยเท่าเทียมกัน
            (๓)    มีสิทธิเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการของสมาคมต่อคณะกรรมการ
            (๔)    มีสิทธิได้รับสวัสดิการต่างๆ ที่สมาคมได้จัดให้มีขึ้น
            (๕)    มีสิทธิเข้าร่วมกิจกรรมที่สมาคมได้จัดให้มีขึ้น
            (๖)    มีสิทธิร้องขอต่อคณะกรรมการ เพื่อตรวจสอบเอกสารและบัญชีสินทรัพย์ของสมาคม
            (๗)    สมาชิกสามัญมีสิทธิในการเลือกตั้งหรือได้รับการเลือกตั้งหรือแต่งตั้ง  เป็นกรรมการสมาคม
                     และมีสิทธิออกเสียงลงมติต่างๆ ในที่ประชุม
            (๘)    สมาชิกสามัญมีสิทธิเข้าชื่อร่วมกันอย่างน้อยจำนวน ๑๐๐ คน ร้องขอต่อคณะกรรมการ ให้จัดประชุมใหญ่วิสามัญได้
            (๙)    มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับของสมาคมโดยเคร่งครัด
            (๑๐) มีหน้าที่ประพฤติตนให้เหมาะสมกับการเป็นสมาชิกของสมาคม
            (๑๑) มีหน้าที่ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินกิจการต่างๆ ของสมาคม
            (๑๒)    มีหน้าที่ช่วยเผยแพร่ชื่อเสียงของสมาคมให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย

หมวด ๔
การดำเนินกิจการของสมาคม
ข้อ ๑๒    ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง จำนวนไม่น้อยกว่า ๓๑ คน แต่ไม่เกิน ๔๑ คน  มีที่มาดังนี้
(๑)                 กรรมการที่มาจากการเลือกตั้งโดยที่ประชุมใหญ่สมาคม จำนวนไม่น้อยกว่า ๑๕ คน แต่ไม่
         เกิน ๒๐ คน  จากศิษย์เก่ารุ่นต่างๆ ไม่เกินรุ่น ๒ คน หรือสมาชิกสามัญตามข้อ ๕(๑)
(๒)             กรรมการที่มาจากการสรรหาโดยคณะกรรมการบริหารชุดปัจจุบัน  สรรหาจากศิษย์เก่าซึ่ง
เป็นสมาชิกของสมาคมไม่เกิน ๑๐ คน เป็นคณะกรรมการแล้วเสนอให้ที่ประชุมใหญ่สามัญ
                        ประจำปี เพื่อทราบ
(๓)              ผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดนครศรีธรรมราช  เป็นอุปนายกคนที่ ๑  โดยตำแหน่ง
(๔)              คณะกรรมการ (๑) (๒) และ (๓)  เลือกตั้งกันเองเป็นนายก ๑ คน  และสรรหาศิษย์เก่าเป็นคณะกรรมการเพิ่มเติมอีกไม่เกิน ๑๐ คน  โดยให้คณะกรรมการเลือกตั้งกันเองเป็นอุปนายกและกรรมการอื่นๆ ตามสมควร
            คณะกรรมการต้องส่งหลักฐานการจดทะเบียนกับนายทะเบียนสมาคมจังหวัด ภายใน ๑๕ วัน นับจากวันประชุมคณะกรรมการตามข้อ ๑๒(๔)
กรรมการสมาคม   มีตำแหน่งและหน้าที่ดังนี้
        (๑)      นายกสมาคม ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าในการบริหารกิจการของสมาคม เป็นผู้แทนสมาคมในการติดต่อ
                              กับบุคคลภายนอก ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมคณะกรรมการและการประชุมใหญ่ของสมาคม
        (๒)     อุปนายกสมาคม  ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยนายกสมาคมในการบริหารกิจการสมาคม    ปฏิบัติภารกิจตามที่
                    นายกสมาคมมอบหมายและทำหน้าที่แทนนายกสมาคมเมื่อนายกสมาคมไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติ
                    หน้าที่ได้ และการทำหน้าที่แทนนายกสมาคมให้อุปนายกสมาคมตามลำดับตำแหน่งเป็นผู้กระทำแทน
        (๓)     เลขานุการ  ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการของสมาคมทั้งหมด   เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่ในงานธุรการของ
สมาคมและปฏิบัติตามคำสั่งของนายกสมาคมรวมทั้งทำหน้าที่เป็นเลขานุการในการประชุมต่างๆ ของ  สมาคม
        (๔)     เหรัญญิก  มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงินทั้งหมดของสมาคม เป็นผู้จัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย บัญชีงบดุลของ  สมาคม และเก็บเอกสารหลักฐานต่างๆ เกี่ยวกับการเงินของสมาคม
        (๕)     ปฏิคม ทำหน้าที่ในการต้อนรับแขกและจัดเตรียมสถานที่ประชุมต่างๆ ของสมาคม
        (๖)      นายทะเบียน มีหน้าที่เกี่ยวกับทะเบียนสมาชิกของสมาคมประสานงานกับเหรัญญิกในการเรียกเก็บเงิน  ค่าบำรุงสมาคมพิจารณาคุณสมบัติของผู้สมัครสมาชิกสามัญตามข้อ ๘ และต้องแจ้งผลการพิจารณา
                    ภายใน ๗ วัน
        (๗)     ประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่เผยแพร่กิจการและชื่อเสียงเกียรติคุณของสมาคมให้เป็นที่รู้จักโดยแพร่หลาย
        (๘)     กรรมการตำแหน่งอื่นๆ    คณะกรรมการสมาคมตำแหน่งอื่นที่มิได้ระบุไว้ข้างต้น   และคณะกรรมการ
                    เห็นสมควรกำหนดให้มีขึ้นตามความเหมาะสมโดยมีจำนวนเมื่อรวมกับตำแหน่งกรรมการตามข้อ ๑๒
                      จะต้องไม่เกินจำนวนที่กำหนดไว้ แต่ถ้าคณะกรรมการมิได้กำหนดตำแหน่งให้ถือเป็นกรรมการกลาง
ข้อ ๑๓    คณะกรรมการสมาคมมีวาระการดำรงตำแหน่งละ ๒ ปี  ไม่เกิน ๒ วาระติดต่อกัน  คณะกรรมการชุดเก่าต้องส่งมอบงานให้แก่คณะกรรมการชุดใหม่อย่างเป็นทางการภายในเดือนสิงหาคม     ทั้งนี้ให้กรรมการชุดเก่ารักษาการจนถึงวันส่งมอบงาน
                        คณะกรรมการที่ตำรงตำแหน่ง ๒ วาระติดต่อกันแล้ว  สามารถเป็นกรรมการต่อไปได้แต่
            ต้องต่างที่มากัน
ข้อ ๑๔ ถ้าตำแหน่งกรรมการบริหารสมาคมว่างลงก่อนครบกำหนดตามวาระ     ให้คณะกรรมการแต่งตั้ง
กรรมการคนใดคนหนึ่งดำรงตำแหน่งแทน  กรณีตำแหน่งกรรมการว่างลง คณะกรรมการที่เหลือไม่ครบจำนวนตามข้อ ๑๒ ให้มีการประชุมใหญ่เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการให้ครบจำนวนตามข้อ ๑๒ กรรมการที่ได้รับเลือกเข้ามาใหม่ให้ดำรงในตำแหน่งตามวาระที่เหลืออยู่           กรณีคณะกรรมการ สมาคมเห็นว่าวาระที่เหลืออยู่ดังกล่าวตามวรรค ๒ ไม่ถึง ๖ เดือน และคณะกรรมการที่เหลืออยู่เกินจำนวนองค์ประชุมที่มีอยู่เดิมและดุลยพินิจของคณะกรรมการเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งสมาคมแล้ว ยังสามารถดำเนินการต่อไปได้     คณะกรรมการจะไม่จัดให้มีการเลือกตั้งดังกล่าวในวรรค ๒  ก็ได้
ข้อ ๑๕  กรรมการพ้นจากตำแหน่งซึ่งมิใช่เป็นการออกตามวาระเมื่อ
            (๑)    ตาย
            (๒)   ลาออก
            (๓)    ขาดจากสมาชิกภาพ
            (๔)    ที่ประชุมมีมติให้ออก
ข้อ ๑๖  กรรมการที่ประสงค์จะลาออกจากตำแหน่งให้ยื่นใบลาออกเป็นลายลักษณ์อักษรต่อนายกสมาคมและให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อคณะกรรมการมีมติให้ออก
ข้อ ๑๗ อำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการ
(๑)    มีอำนาจออกระเบียบต่างๆ เพื่อการบริหารกิจการของสมาคม ทั้งนี้จะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายและข้อบังคับฉบับนี้
            (๒)   มีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนเจ้าหน้าที่ของสมาคม
            (๓)    มีอำนาจแต่งตั้งหรือจัดจ้าง กรรมการที่ปรึกษาหรืออนุกรรมการได้แต่กรรมการที่ปรึกษาหรือ
                     อนุกรรมการอยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกินวาระของกรรมการที่แต่งตั้ง
             (๔)   มีอำนาจเรียกประชุมใหญ่ประจำปี และประชุมใหญ่วิสามัญ
             (๕)   มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการในตำแหน่งอื่นๆที่ยังมิได้กำหนดในข้อบังคับนี้
            (๖)    มีอำนาจบริหารกิจการของสมาคม เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ตลอดจนมีอำนาจอื่นๆ 
                     ตามที่ข้อบังคับกำหนดไว้
            (๗)    มีหน้าที่แต่งตั้งอนุกรรมการจากตัวแทนศิษย์เก่าที่เป็นสมาชิกรุ่นต่างๆ รุ่นละหนึ่งคน
            (๘)    มีหน้าที่รับผิดชอบในกิจการของสมาคม รวมทั้งการเงินและสินทรัพย์ทั้งหมดของสมาคม
(๙)    มีหน้าที่จัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญตามข้อ ๑๑() ตามที่สมาชิกสามัญร้องขอภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือร้องขอ
(๑๐)  มีหน้าที่จัดทำเอกสารหลักฐานต่างๆ ทั้งที่เกี่ยวกับการเงิน สินทรัพย์ และการดำเนินกิจกรรม ต่างๆ ของสมาคม ให้ถูกต้องและสามารถจะให้สมาชิกตรวจดูได้เมื่อสมาชิกร้องขอ
             (๑๑) มีหน้าที่จัดทำบันทึกการประชุมต่างๆ ของสมาคมเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน
             (๑๒)   มีหน้าที่อื่นๆ ตามที่ข้อบังคับกำหนดไว้
ข้อ ๑๘ คณะกรรมการจะต้องประชุมกันอย่างน้อยปีละ ๖ ครั้ง
ข้อ ๑๙  การประชุมคณะกรรมการ จะต้องมีกรรมการเข้าประชุม ไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด  จึงถือว่าครบองค์ประชุม มติของที่ประชุมคณะกรรมการ ถ้าข้อบังคับมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ก็ให้ถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมเป็นผู้ชี้ขาด
ข้อ ๒๐ ในการประชุมคณะกรรมการ ถ้านายกสมาคมและอุปนายกสมาคมไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้   ให้กรรมการที่เข้าประชุมในคราวนั้นเลือกตั้งกรรมการคนใดคนหนึ่ง
ทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมคราวนั้น

หมวด ๕
การประชุมใหญ่
ข้อ ๒๑    การประชุมใหญ่สมาคม คือ
               (๑)    ประชุมใหญ่สามัญ
               (๒)   ประชุมใหญ่วิสามัญ
ข้อ ๒๒   คณะกรรมการจะต้องจัดให้มีการการประชุมใหญ่สามัญประจำปี อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง ภายในเดือนกรกฎาคม เมื่อครบกำหนดวาระของกรรมการแล้วแต่คณะกรรมการไม่จัดให้มีการประชุมใหญ่ สามัญประจำปี    ให้บุคคลผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช เรียกประชุมใหญ่สามัญประจำปี  เพื่อให้มีคณะกรรมการชุดใหม่  ตามหมวด ๔ ข้อ ๑๒
ข้อ ๒๓         การประชุมใหญ่วิสามัญนอกจากการประชุมตามข้อ ๑๑() หากคณะกรรมการเห็นสมควร ให้มีการประชุมใหญ่ ให้สามารถเรียกประชุมได้
ข้อ ๒๔   การประชุมใหญ่ ให้นายกสมาคมหรือเลขานุการ เป็นผู้ชี้แจงกำหนดการประชุมใหญ่ให้สมาชิกทราบเป็นลายลักษณ์อักษร โดยระบุวัน เวลา สถานที่และวาระการประชุมให้ชัดเจน ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน และประชาสัมพันธ์ทางสื่อต่างๆ ที่เห็นสมควร
                     กรณีที่สมาชิกร้องขอให้เรียกประชุมตามข้อ ๑๑()   ถ้าคณะกรรมการสมาคมไม่เรียกประชุม ภายในกำหนด ๓๐ วัน สมาชิกที่เป็นผู้ร้องขอให้เรียกประชุมหรือสมาชิกอื่นรวมกันมีจำนวนไม่น้อยกว่า ๑๐๐ คน มีสิทธิเรียกประชุมเอง
ข้อ ๒๕   การประชุมใหญ่สามัญประจำปี จะต้องมีวาระการประชุมอย่างน้อยดังต่อไปนี้
               (๑)    รับรองรายงานการประชุมครั้งที่ผ่านมา
               (๒)   แถลงกิจการที่ผ่านมาในรอบปี
               (๓)    แถลงบัญชีรายรับ-รายจ่าย และบัญชีงบดุลของปีที่ผ่านมา
               (๔)    เลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่เมื่อครบกำหนดวาระ
               (๕)    เลือกตั้งผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และกำหนดค่าตอบแทน
               (๖)    เลือกตั้งผู้ตรวจสอบการเงินและสินทรัพย์จำนวน ๓ คนที่ไม่ใช่กรรมการปีละ ๑ ครั้ง
               (๗)    เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
ข้อ ๒๖    ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปีหรือการประชุมใหญ่วิสามัญ จะต้องมีสมาชิกเข้าร่วมประชุม
               ไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่ง หรืออย่างน้อย ๑๐๐ คน   จึงจะถือว่าครบองค์ประชุม   แต่ถ้าเมื่อถึงกำหนด
               เวลาประชุมยังมีสมาชิกสามัญ เข้าร่วมประชุมไม่ครบองค์ประชุม  ก็ให้ขยายเวลาออกไปอีก ๖๐
               นาที แต่เมื่อครบกำหนดเวลาที่ขยายออกไปแล้ว    ยังมีสมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุมไม่ครบองค์
               ประชุม  ก็ให้เลื่อนประชุมคราวนั้นไป   และจัดประชุมใหม่อีกครั้งหนึ่งหลังจากเวลาได้ล่วงเลย
               มาแล้วไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน แต่จะต้องไม่เกิน ๔๕ วัน     นับแต่วันที่ได้เลื่อนการประชุมครั้งแรก
               สำหรับการประชุมครั้งนี้ ถ้ามีสมาชิกเข้าร่วมประชุมเป็นจำนวนเท่าใดให้ถือว่าครบองค์ประชุม
ยกเว้น ถ้าการประชุมใหญ่วิสามัญที่เกิดขึ้นจากการร้องขอของสมาชิก ก็ไม่ต้องจัด
ประชุมใหญ่ ให้ถือว่าการประชุมเป็นอันยกเลิก
ข้อ ๒๗   การลงมติต่างๆ ในที่ประชุมใหญ่ ถ้าข้อบังคับมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ก็ให้ถือคะแนนเสียงข้างมาก   หากคะแนนเสียงเท่ากัน  ให้ประธานในที่ประชุมเป็นผู้ชี้ขาด
ข้อ ๒๘   ในการประชุมใหญ่ของสมาคม    ถ้านายกสมาคมและอุปนายกสมาคมไม่สามารถเข้าร่วมประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ก็ให้ที่ประชุมตั้งกรรมการที่มาร่วมประชุมคนใดคนหนึ่งที่หน้าที่เป็นประธานการประชุมคราวนั้น

หมวด ๖
การเงินและสินทรัพย์

ข้อ ๒๙   การเงินและสินทรัพย์ทั้งหมด ให้อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการ เงินสดของสมาคม ถ้ามีให้ฝากไว้ในธนาคารใดธนาคารหนึ่ง  ที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช   ตามแต่คณะกรรมการจะเห็นสมควร
                       สมุดบัญชีและเอกสารให้เก็บไว้ที่สมาคมและอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของอุปนายกคนที่ ๑
ข้อ ๓๐    การลงนามในตั๋วเงินหรือเช็คของสมาคม    จะต้องมีลายมือชื่อของนายกสมาคมหรือผู้ทำการแทนลงนามร่วมกับเหรัญญิกหรือเลขานุการ   กับประทับตราของสมาคม จึงจะถือว่าถูกต้อง
ข้อ ๓๑    ให้นายกสมาคมมีอำนาจสั่งจ่ายเงินของสมาคมตามวัตถุประสงค์  ได้ครั้งละไม่เกิน ๓๐,๐๐๐ บาท(สามหมื่นบาท)   ถ้าเกินกว่านั้น ให้คณะกรรมการเป็นผู้พิจารณาอนุมัติเป็นคราวๆ ไป ไม่เกินครั้งละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาท)  ยกเว้นโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการของสมาคมแล้ว นายกสมาคมมีอำนาจสั่งจ่ายได้เต็มจำนวนที่อนุมัติ
ข้อ ๓๒   ให้เหรัญญิก มีอำนาจเก็บรักษาเงินสดของสมาคมเพื่อสำรองจ่าย ได้ไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นบาท)   ถ้าเกินจำนวนนี้จะต้องนำฝากธนาคารในบัญชีของสมาคม
ข้อ ๓๓    เหรัญญิกจะต้องทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย และบัญชีงบดุลให้ถูกต้อง โดยมีวันสิ้นรอบบัญชีในวันที่ ๓๑ พฤษภาคม    และการรับหรือจ่ายเงินทุกครั้งจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ  ลงลายมือชื่อของนายกสมาคมหรือผู้ทำการแทน   พร้อมกับประทับตราของสมาคมทุกครั้ง
   ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจะต้องมิใช่กรรมการหรือเจ้าหน้าที่สมาคม
   ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต    มีอำนาจที่จะเรียกเอกสารที่เกี่ยวกับการเงินและสินทรัพย์   จากคณะกรรมการ  และสามารถเรียกกรรมการหรือเจ้าหน้าที่สมาคมเพื่อสอบถามเกี่ยวกับบัญชี และสินทรัพย์ของสมาคมได้
ข้อ ๓๔    คณะกรรมการจะต้องให้ความร่วมมือกับผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และให้ความร่วมมือกับ
               ผู้ตรวจสอบการเงินและสินทรัพย์ เมื่อได้รับการร้องขอ

หมวด ๗
การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับและการเลิกสมาคม
ข้อ ๓๕    การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับของสมาคม จะกระทำได้โดยมติของที่ประชุมใหญ่เท่านั้นและจะต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า ๒ ใน ๓ ของสมาชิกสามัญที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมด
ข้อ ๓๖    เมื่อสมาคมต้องเลิกไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ ก็ตาม  สินทรัพย์ของสมาคมที่เหลืออยู่  หลังจากได้ชำระ
               บัญชีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว  ให้ตกเป็นของโรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช

หมวด ๘
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๓๗    ข้อบังคับของสมาคมฉบับนี้   มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่นายทะเบียนสมาคมจังหวัดอนุญาตให้จด ทะเบียนเปลี่ยนแปลงแก้ไขเป็นต้นไป
ข้อ ๓๘    ให้ยกเลิกข้อบังคับของสมาคมฉบับเดิมทั้งหมด และให้ใช้ข้อบังคับฉบับนี้แทน
ข้อ ๓๙    การตีความในข้อบังคับของสมาคม หากเป็นที่สงสัยให้นายกสมาคมเป็นผู้ชี้ขาด

อดีตนายกสมาคม

1.นายแปลก  ศิงฆมานันท์             นายกสมาคม
2.นายโอบ    ปักปิ่นเพชร              นายกสมาคม
3.นายไสว     สวัสดิสาร                นายกสมาคม
4.นายช.นินทร์  เพชรไพศิษฐ์        นายกสมาคม
5.นายอากร      ทองธวัช              นายกสมาคม
6.นายนิเวศน์    เกตุชาติ               นายกสมาคม
7.นายตรีพล      เจาะจิตต์             นายกสมาคมปี พ.ศ.2533 - 2536
8.นายขจรเกียรติ แก้วทองคำ       นายกสมาคมปี พ.ศ.2536 - 2546
9.นายศุภมน  เสาหฤทวงศ์           นายกสมาคมปี พ.ศ.2546 - 2548
10. นายสมชาย  พงศ์ดำรงวิทย์    นายกสมาคมปี พ.ศ.2548-2550
11.นายแพทย์กิตติ  รัตนสมบัติ     นายกสมาคมปี พ.ศ.2551 - 2553
12. นายสุเมธ  รุจิวณิชย์กุล           นายกสมาคมปี พ.ศ.2553 - ปัจจุบัน
     

สารจากนายกสมาคม

สวัสดีครับ ชาวเบญจมฯทุกท่าน
        ขอเปิดประตูต้อนรับเข้าสู่รั้ว web site ชาวขาวแดงของเราด้วยบรรยากาศใหม่ๆ  โดยคณะกรรมการบริหารสมาคมชุดใหม่ที่เพิ่งรับหน้าที่หมาดๆกันนะครับ   
        จากการรับไม้จากอดีตนายกสมาคม คุณหมอกิตติ รัตนสมบัติ   ที่ท่านเปิดประชุมใหญ่แก้ไขข้อบังคับสมาคมหลายเรื่อง ทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานมากขึ้น (รายละเอียดการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับสมาคมฯหาได้จาก web site นี้ )       โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มจำนวนกรรมการจากเดิม ๒๑ คน มาเป็น ๔๑ คน ทำให้เกิดการตื่นตัวที่จะช่วยกันทำงานอย่างสนุกสนาน      อาคารหอเกียรติยศซึ่งเป็นที่ทำการของสมาคมฯในขณะนี้ได้มีการปรับปรุงโฉมใหม่ให้เป็นสโมสรของทุกคนที่จะมาใช้เป็นที่พบปะสังสรรค์ มีน้ำชากาแฟและเครื่องดื่มฟรี มีห้องอ่านหนังสือ และอนาคตจะติดตั้งคอมพิวเตอร์เพื่อเล่นอินเตอร์เน็ตให้ใช้ฟรีเช่นกัน
          พี่น้องชาวขาวแดงครับ ปีนี้เบญจมฯของเราครบรอบการได้รับพระราชทานนามว่า“โรงเรียนเบญจมราชูทิศ” ๑๑๑ ปี ทางคณะกรรมการบริหารสมาคมฯจึงมีดำริที่จะจัดงานรวมใจให้ยิ่งใหญ่อีกสักครั้ง ซึ่งเราเคยจัดมาแล้วเมื่อครบรอบ ๑๐๐ ปี   รายละเอียดจะแจ้งให้ทราบผ่านสื่อต่างๆต่อไป และขณะเดียวกันนี้ ทางสมาคมฯได้จัดสร้างเหรียญครบรอบ๑๑๑ ปี โรงเรียนเบญจมราชูทิศ   โดยมีพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ที่พวกเราเคารพและเทิดทูนอยู่บนด้านหน้าเหรียญ และได้ผ่านพิธีกรรมทางพุทธคุณมาเรียบร้อยแล้ว ท่านสามารถติดต่อได้ที่สมาคมฯ
          ทางสมาคมฯได้กำหนดกิจกรรมและโครงการต่างๆที่จะเป็นประโยชน์ต่อโรงเรียนและนักเรียน รวมทั้งชาวเบญจมฯทุกคนไว้แล้ว   และก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านจะเข้ามามีส่วนร่วมที่จะเสริมสร้างให้สถาบันของเรามีความเป็นเลิศ สมกับที่ท่านเป็นศิษย์ของสถาบันแห่งนี้
                                                                            
        (นายสุเมธ รุจิวณิชย์กุล)
                                                                     นายกสมาคมศิษย์เก่าเบญจมราชูทิศ
                                                                           ปีบริหาร พ.ศ. 2553-2555